โรคกระดูกพรุนเกิดขึ้นได้อย่างไร
โรคกระดูกพรุน หมายถึง โรคที่กระดูกมีเนื้อกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบางและหักง่าย โดยโรคกระดูกพรุน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการจนกว่าจะสูงอายุ หลังอาจจะงอลง เตี้ยลง และมีกระดูกหักง่ายแม้มีการบาดเจ็บไม่รุนแรง
1. กรรมพันธุ์: โรคกระดูกพรุนพบในคนผิวขาวมากกว่าคนผิวดำ คนผอมสูงมากกว่าคนอ้วน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
2. การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ดื่มกาแฟมาก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์มาก
3. ขาดการออกกำลังกาย
4. ฮอร์โมนเพศลดลง โดยเฉพาะ ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ออกจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
6. อายุมากขึ้น
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
1.กระดูกหักง่าย จากการบาดเจ็บไม่รุนแรง
2.ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยง ทำการตรวจวัดเอ็กซเรย์ความหนาแน่นกระดูกที่สะโพก , กระดูกสันหลัง โดยใช้อุปกรณ์ มาตรฐาน Dual Energy X-ray Absorptio metry (DEXA)
3.การใช้เครื่องวัดกระดูกทั่วไปชนิด Ultrasound ที่ใช้วัดกระดูกส้นเท้า กระดูกข้อมือ ถ้ามีกระดูกพรุนหรือบาง ต้องตรวจยืนยันโดยเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูกชนิด DEXA ก่อน จึงมั่นใจได้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือบาง
การรักษาโรคกระดูกพรุน
1. รับประทานแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- อาหารที่เหมาะสม : นม ถั่งเหลือง เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ฯลฯ
- ยาแคลเซียม : 800 –1000 มิลลิกรัม / วัน
2. ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 15 นาที / วัน
3. ออกกำลังกายที่มีการรับน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง แอโรบิค มวยจีน เต้นรำ
4. ลดพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุราจัด ดื่มกาแฟจัด และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
5. หลีกเลี่ยงยาที่เสี่ยง เช่น ยาสเตียรอยด์ (บางครั้งพบในยาสมุนไพร ยาลูกกลอน ยาจีน)
6. ควบคุมน้ำหนักให้พอเหมาะ
7. การใช้ยาตามแพทย์แนะนำ ได้แก่
-แคลเซียม
-ยาป้องกันการสลายกระดูก Bisphosphonate: Aledronate Risendronate, Ibandronate
-ยาที่ออกฤทธิ์ทั้งป้องกันการสลายกระดูกและเพิ่มการสร้างกระดูก เช่น วิตามิน D , วิตามิน K2 , Strontium Ranelate
วิธีรับประทาน 1 ช้อนชา โดยละลายในนม หรือเครื่องดื่มอื่นๆ 250 มิลลิลิตร
เลขที่ อ.ย. 13-1-02950-1-0027
สั่งสินค้าคลิกที่นี้
ดูข้อมูลที่ http://buahealthcare.myreadyweb.com/
ขนาดและราคา 1 ขวด 100 กรัม ราคา 320 บาท
บริการส่งฟรีทั่วประเทศไม่คิดค่าส่ง
สั่งซื้อที่ คุณ สายบัว บุญหมื่น
ID Line : bua300908
โทร. 088 415 3926
อีเมล์ sboonmuen@gmail.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://calsolvitbua.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น